แนวทางการประเมินโครงงาน Problem
Based Learning
ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
คำชี้แจง
เกณฑ์การประเมินนี้ไม่ใช่เกณฑ์การประเมินที่ดีที่สุด
แต่เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติที่ทางโรงเรียน
ลำปลายมาศพัฒนาใช้ประเมินเพื่อการตัดสินเท่านั้น การประเมินที่แท้จริงต้องเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับการเรียนการสอน ซึ่งผู้เรียน
และผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เท่านั้นที่จะเข้าใจและสามารถประเมินได้อย่างแท้จริง
เกณฑ์ประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย
พัฒนาการ
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
4
|
3
|
2
|
1
|
|
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
|
1. สามารถใช้อุปกรณ์
เช่น กรรไกรในการตัดกระดาษได้ตามแบบ
หรือตามแนวเส้นที่กำหนด ได้ดีมาก
2. ใช้เชือกร้อยวัสดุตามแบบได้อย่างถูกต้อง
3. ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี
เช่น การติดกระดุมเสื้อ การสวมถุงเท้า ร้อยเชือกรองเท้า
4. เขียนตามแบบได้ดีมากเช่น
วาดภาพระบายสีเขียนคำ วาดภาพรูปร่างรูปทรงต่างๆ
|
1. สามารถใช้อุปกรณ์
เช่น กรรไกรในการตัดกระดาษได้ตามแบบ
หรือตามแนวเส้นที่กำหนด ได้ดี
2. ใช้เชือกร้อยวัสดุตามแบบได้อาจจะสลับเล็กน้อย
3. ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองได้แต่อาจจะช้า
เช่น การติดกระดุมเสื้อ การสวมถุงเท้า ร้อยเชือกรองเท้า
4. เขียนตามแบบได้ดีเช่น
วาดภาพระบายสีเขียนคำ วาดภาพรูปร่างรูปทรงต่างๆ
|
1. สามารถใช้อุปกรณ์
เช่น กรรไกรในการตัดกระดาษได้ตามแบบ
หรือตามแนวเส้นที่กำหนดได้เล็กน้อย
2. ใช้เชือกร้อยวัสดุได้แต่ไม่ค่อยเหมือนแบบเท่าที่ควร
3. ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้บางอย่าง
ส่วนใหญ่ครูต้องคอยกระตุ้น เช่น การติดกระดุมเสื้อ การสวมถุงเท้า
ร้อยเชือกรองเท้า
4. เขียนตามแบบบ้างเช่น
วาดภาพระบายสีเขียนคำ วาดภาพรูปร่างรูปทรงต่างๆ
|
1. สามารถใช้อุปกรณ์
เช่น กรรไกรในการตัดกระดาษได้ตามแบบ
หรือตามแนวเส้นที่กำหนดไม่ค่อยได้ ส่วนมากจะขาด
2. ใช้เชือกร้อยวัสดุได้แต่ไม่เหมือนแบบเลย
3. ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้แต่ต้องมีครูอยู่ด้วย
แ ละค่อนข้างช้า เช่น การติดกระดุมเสื้อ การสวมถุงเท้า
ร้อยเชือกรองเท้า
4. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้เช่น
วาดภาพระบายสีเขียนคำ วาดภาพรูปร่างรูปทรงต่างๆ
|
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
|
1. ใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างต่อเนื่องและคล่องแคล้ว
เช่น การรับ-การส่งลูกบอล
2. ใช้เท้าทั้งสองข้างได้อย่างต่อเนื่องและคล่องแคล้ว
เช่น การวิ่ง การหยุด การเดิน การกระโดดขาเดียว การกระโดดสองขา
การขึ้นลงบันได เป็นต้น
|
1. ใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล้ว
แต่ได้ไม่ต่อเนื่อง เช่น
การรับ-การส่งลูกบอล
2. ใช้เท้าทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล้ว
แต่ไม่ค่อยต่อเนื่อง เช่น
การวิ่ง การหยุด การเดิน การกระโดดขาเดียว การกระโดดสองขา การขึ้นลงบันได
เป็นต้น
|
1. ใช้มือทั้งสองข้างได้บ้าง
แต่ไม่คล่องแคล้ว เช่น
การรับ-การส่งลูกบอล
2. ใช้เท้าทั้งสองข้างได้บ้างแต่ไม่ค่อยคล่องแคล้วเท่าที่ควร
เช่น การวิ่ง การหยุด การเดิน การกระโดดขาเดียว การกระโดดสองขา
การขึ้นลงบันได เป็นต้น
|
1. ใช้มือทั้งสองข้างไม่ค่อยได้
เช่น การรับ-การส่งลูกบอล
2. ใช้เท้าทั้งสองข้างได้ไม่คล่องแคล้วและช้า
เช่น การวิ่ง การหยุด การเดิน การกระโดดขาเดียว การกระโดดสองขา
การขึ้นลงบันได เป็นต้น
|
เกณฑ์ประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์
– จิตใจ
พัฒนาการ
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
4
|
3
|
2
|
1
|
|
การแสดงออกทางด้านอารมณ์
|
1. สามารถอดทนรอคอยกับสิ่งต่างๆ
ได้ดีมาก เช่น เข้าแถวรองาน
ฟังนิทานที่ครูเล่าได้จนจบเรื่อง เป็นต้น
2. สามารถแสดงออกถึงความรักที่มีต่อผู้ปกครอง
ครู และเพื่อนได้อย่างไม่เขินอาย
เช่น การยิ้ม การสวัสดี การทักทาย การกอด การสัมผัส เป็นต้น
|
1. สามารถอดทนรอคอยกับสิ่งต่างๆ
ได้ดี เช่น เข้าแถวรองาน
ฟังนิทานที่ครูเล่าได้จนจบเรื่อง เป็นต้น
2. สามารถแสดงออกถึงความรักที่มีต่อผู้ปกครอง
ครู และเพื่อนได้ดี มีบ้างที่เขินอาย เช่น การยิ้ม การสวัสดี การทักทาย การกอด การสัมผัส เป็นต้น
|
1. สามารถอดทนรอคอยกับสิ่งต่างๆได้บ้างแต่ได้ไม่นาน
เช่น เข้าแถวรองาน ฟังนิทานที่ครูเล่าได้จนจบเรื่อง เป็นต้น
2. สามารถแสดงออกถึงความรักที่มีต่อผู้ปกครอง
ครู และเพื่อนได้แต่ไม่บ่อยครั้งส่วนใหญ่จะเขินอาย
เช่น การยิ้ม การสวัสดี การทักทาย การกอด การสัมผัส เป็นต้น
|
1. ไม่สามารถอดทนรอคอยกับสิ่งต่างๆได้
เช่น เข้าแถวรองาน ฟังนิทานที่ครูเล่าได้จนจบเรื่อง เป็นต้น
2. ไม่สามารถแสดงออกถึงความรักที่มีต่อผู้ปกครอง
ครู และเพื่อนเพราะเขินอาย
เช่น การยิ้ม การสวัสดี การทักทาย การกอด การสัมผัส เป็นต้น
|
ความรู้สึกดีต่อตนเองและผู้อื่น
|
1. สามารถแสดงออกถึงการชื่นชมผลงาน
หรือความสามารถของตนเองและผู้อื่นได้ดีมาก เช่น การปรบมือ การกกล่าวคำชื่นชม
เป็นต้น
2. มีความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทำ
กล้านำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และชื่นชม
|
1. สามารถแสดงออกถึงการชื่นชมผลงาน
หรือความสามารถของตนเองและผู้อื่นได้ดี เช่น การปรบมือ การกล่าวคำชื่นชม
เป็นต้น
2. มีความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทำ
และส่วนมากจะกล้านำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และชื่นชม
|
1. สามารถแสดงออกถึงการชื่นชมผลงาน
หรือความสามารถของตนเองและผู้อื่นบ้างในบางครั้ง เช่น การปรบมือ การกล่าวคำชื่นชม
เป็นต้น
2. มีความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทำ
แต่ไม่กล้านำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และชื่นชม
|
1. ไม่สามารถแสดงออกถึงการชื่นชมผลงาน
หรือความสามารถของตนเองและผู้อื่นได้ เช่น
การปรบมือ การกล่าวคำชื่นชม
เป็นต้น
2. ไม่มีความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทำ
ไม่กล้านำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และชื่นชม
|
ด้านการเคารพสิทธิ์ผู้อื่น
|
1. สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ
ได้ดีมาก เช่น เมื่อมีคนมาทำให้เจ็บ
มาแซงคิว หรือทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ
กล้าบอกความรู้สึกออกไปว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
2. สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีมาก
เช่น เมื่อทำสิ่งนี้เราไม่ชอบคนอื่นก็คงไม่ชอบเช่นกัน
เมื่อเพื่อนบอกว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
สามารถหยุดพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นอีก
|
1. สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ
ได้ดี เช่น เมื่อมีคนมาทำให้เจ็บ
มาแซงคิว หรือทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ
กล้าบอกความรู้สึกออกไปว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
2. สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
เช่น เมื่อทำสิ่งนี้เราไม่ชอบคนอื่นก็คงไม่ชอบเช่นกัน
เมื่อเพื่อนบอกว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
สามารถหยุดพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นอีก
|
1. สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ
ได้บ้างบางครั้ง เช่น เมื่อมีคนมาทำให้เจ็บ
มาแซงคิว หรือทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ
กล้าบอกความรู้สึกออกไปว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
2. สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้บ้างในบางครั้งแต่ก็ต้องคอยเตือน
เช่น เมื่อทำสิ่งนี้เราไม่ชอบคนอื่นก็คงไม่ชอบเช่นกัน
เมื่อเพื่อนบอกว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
สามารถหยุดพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นอีก
|
1. สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ
ได้น้อยมาก จะรอให้ถามจึงจะบอก เช่น เมื่อมีคนมาทำให้เจ็บ มาแซงคิว
หรือทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ กล้าบอกความรู้สึกออกไปว่า
“อย่าทำเราไม่ชอบ”
2.ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้
แม้เพื่อนจะบอกซ้ำแล้วก็ตาม เช่น
เมื่อทำสิ่งนี้เราไม่ชอบคนอื่นก็คงไม่ชอบเช่นกัน เมื่อเพื่อนบอกว่า “อย่าทำเราไม่ชอบ”
สามารถหยุดพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นอีก
|
เกณฑ์ประเมินพัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการ
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
4
|
3
|
2
|
1
|
|
การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
|
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด เช่น การเลือกเครื่องแต่งกาย
การแต่งกาย การรับประทานอาหาร
การเข้าห้องน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย เป็นต้น
|
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองได้แต่ไม่ทั้งหมด ยังต้องมีคนคอยช่วยเหลือบางอย่าง
เช่น การเลือกเครื่องแต่งกาย
การแต่งกาย การรับประทานอาหาร
การเข้าห้องน้ำทำความสะอาดร่างกาย เป็นต้น
|
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่ต้องมีคนคอยช่วย คอนแนะนำคอยเตือน เช่น
การเลือกเครื่องแต่งกาย การแต่งกาย
การรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำทำความสะอาดร่างกาย
เป็นต้น
|
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองต้องมีคนคอยช่วย คอยเตือน คอยแนะนำตลอดเวลา
เช่น การเตรียมเครื่องแต่งกาย
การแต่งกาย การรับประทานอาหาร
การเข้าห้องน้ำทำความสะอาดร่างกาย เป็นต้น
|
การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การรู้บทบาทและหน้าที่
|
1. สามารถเล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มหรือในห้องได้ดีมาก
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายดีมาก
ตรงต่อเวลา
3. สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของห้องหรือของโรงเรียนได้
4. มีความเสียสละ
รู้จักการเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ
|
1. สามารถเล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มหรือในห้องได้ดี
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายดี
ตรงต่อเวลา
3. สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของห้องหรือของโรงเรียนได้เป็นส่วนใหญ่
4. มีความเสียสละ
รู้จักการเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ
|
1. สามารถเล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มหรือในห้องได้บ้าง
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายดี
แต่ไม่ค่อยตรงต่อเวลา
3. สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของห้องหรือของโรงเรียนบ้าง
4. มีความเสียสละ
รู้จักการเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ
|
1. ไม่สามารถเล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มหรือในห้องได้เท่าที่ควร
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายน้อย
ไม่ตรงต่อเวลา
3. สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาของห้องหรือของโรงเรียนน้อยมาก
4. ไม่ค่อยมีความเสียสละ
|
การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
|
1. สามารถแสดงออกถึงการเคารพต่อตัวเองและผู้อื่นได้ดีมาก
เช่น การไหว้สวัสดีทุกครั้งที่เจอกันครั้งแรก
(พร้อมเอ่ยชื่อถ้ารู้จัก) ไหว้ขอบคุณทันทีที่มีคนให้สิ่งของไม่วิจารณ์สิ่งของนั้น
ไหว้ขอบคุณทุกครั้งที่มีการรับ-ส่งงาน
2. ทิ้งขยะลงถังขยะทุกครั้งโดยที่ไม่ต้องคอยเตือน
รวมทั้งยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
|
1. สามารถแสดงออกถึงการเคารพต่อตัวเองและผู้อื่นได้ดี
เช่น การไหว้สวัสดีทุกครั้งที่เจอกันครั้งแรก
(พร้อมเอ่ยชื่อถ้ารู้จัก) ไหว้ขอบคุณทันทีที่มีคนให้สิ่งของไม่วิจารณ์สิ่งของนั้น
ไหว้ขอบคุณทุกครั้งที่มีการรับ-ส่งงาน
2. ทิ้งขยะลงถังขยะทุกครั้งโดยที่ได้เตือนบ้างในบางครั้ง
รวมทั้งยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้
|
1. สามารถแสดงออกถึงการเคารพต่อตัวเองและผู้อื่นได้บ้าง
แต่ต้องคอยเตือน เช่น การไหว้สวัสดีทุกครั้งที่เจอกันครั้งแรก (พร้อมเอ่ยชื่อถ้ารู้จัก)
ไหว้ขอบคุณทันทีที่มีคนให้สิ่งของไม่วิจารณ์สิ่งของนั้น ไหว้ขอบคุณทุกครั้งที่มีการรับ-ส่งงาน
2. ทิ้งขยะลงถังขยะทุกครั้งโดยที่ส่วนใหญ่ต้องมีคนคอยเตือน
รวมทั้งยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
|
1. ไม่สามารถแสดงออกถึงการเคารพต่อตัวเองและผู้อื่นได้ด้วยตัวเอง
ต้องมีคนคอยเตือน เช่น
การไหว้สวัสดีทุกครั้งที่เจอกันครั้งแรก
(พร้อมเอ่ยชื่อถ้ารู้จัก) ไหว้ขอบคุณทันทีที่มีคนให้สิ่งของไม่วิจารณ์สิ่งของนั้น
ไหว้ขอบคุณทุกครั้งที่มีการรับ-ส่งงาน
2. ทิ้งขยะลงถังขยะทุกครั้งต้องมีคนคอยเตือน
|
เกณฑ์ประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา
พัฒนาการ
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
4
|
3
|
2
|
1
|
|
การฟังการพูด
การอ่าน การเขียน
|
1. สามารถฟังแล้วจับใจความและนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้ดีมาก
2. สามารถฟังและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
เช่น การเคลื่อนไหวท่าทาง
3.สามารถบอกชื่อ – สกุล ชื่อเล่น และที่อยู่ของตนเองได้
4. สามารถบอกสัญลักษณ์ พยัญชนะ
และตัวอักษรในชื่อของตนเองได้ถูกต้อง
5. สามารถเขียนตามแบบได้
เช่น ชื่อ – สกุลของตัวเอง
|
1. สามารถฟังแล้วจับใจความและนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้ดี
2. สามารถฟังและปฏิบัติตามได้ดี
เช่น การเคลื่อนไหวท่าทาง
3. สามารถบอกชื่อ – สกุล ชื่อเล่น และที่อยู่ได้แต่ไม่ครบ
4. สามารถบอกสัญลักษณ์ พยัญชนะ และตัวอักษรในชื่อของตนเองได้แต่ช้า
5 .สามารถเขียนตามแบบได้แต่อาจจะไม่ครบทุกตัว
เช่น ชื่อ – สกุล
|
1. สามารถฟังแล้วจับใจความได้เล็กน้อยและนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้บางส่วน
2. สามารถฟังและปฏิบัติตามได้บ้าง
เช่น การเคลื่อนไหวท่าทาง
3. สามารถบอกชื่อ – สกุล ชื่อเล่น แต่บอกที่อยู่ไม่ได้
4. สามารถบอกสัญลักษณ์ พยัญชนะ
และตัวอักษรในชื่อของตนเองได้บ้างแต่ครูต้องคอยกระตุ้น
5.สามารถเขียนตามแบบได้แต่อาจจะไม่ครบทุกตัวและมีการเขียนกลับหัว
เช่น ชื่อ – สกุล
|
1. สามารถฟังแล้วจับใจความได้เล็กน้อยแต่ไม่สามารถนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้
2. ไม่สามารถฟังและปฏิบัติตามได้
เช่น การเคลื่อนไหวท่าทาง
3. สามารถบอกชื่อเล่น
แต่ไม่สามารถบอกชื่อ – สกุล และที่อยู่ได้
4. สามารถบอกสัญลักษณ์ พยัญชนะ
และตัวอักษรในชื่อของตนเองได้แต่ไม่ครบทุกตัว
5.สามารถเขียนตามแบบได้แต่กลับหัวและไม่ครบ
|
การดำเนินการ
|
1. สามารถจำแนกสิ่งต่างๆ
พร้อมให้เหตุผลประกอบได้ เช่น การจำแนกสี การจำแนกสิ่งของ เป็นต้น
2. สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการบอกสิ่งต่างๆ ได้จากการดู การฟังเสียง
การดมกลิ่น การชิมรสและการสัมผัส
ได้เป็นอย่างดี
3. สามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ของตนเองออกมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจนครบองค์ประกอบ
|
1. สามารถจำแนกสิ่งต่างๆ
พร้อมให้เหตุผลประกอบได้บ้างบางครั้ง เช่น
การจำแนกสี การจำแนกสิ่งของ
เป็นต้น
2. สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการบอกสิ่งต่างๆ ได้จากการดู การฟังเสียง
การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัสได้เป็นส่วนใหญ่
3. สามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ของตนเองออกมาเป็นภาพได้แต่องค์ประกอบไม่ครบ
|
1. สามารถจำแนกสิ่งต่างๆ ได้
แต่ไม่สามารถให้เหตุผลได้
2. สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการบอกสิ่งต่างๆ ได้จากการดู การฟังเสียง
การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัสได้ในบางครั้ง
3. สามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ของตนเองออกมาเป็นภาพได้บางส่วนองค์ประกอบขาดหายไปเยอะ
|
1. ไม่สามารถจำแนกสิ่งต่างๆ
ที่เป็นหมวดหมู่ได้ และไม่สามารถให้เหตุผลของการจำแนกได้
2. สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการบอกสิ่งต่างๆ ได้จากการดู การฟังเสียง
การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัสได้ค่อนข้างน้อยมาก
3. สามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ของตนเองออกมาเป็นภาพไม่ได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น