Week3

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”
ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ 2  (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558

เป้าหมายรายสัปดาห์ :  นักเรียนเห็นคุณค่าของธรรมชาติ  และยังสามารถบอกเกี่ยวกับของเล่นที่มาจากธรรมชาติรวมทั้งวิธีการเล่นอย่างปลอดภัยได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
25 - 29
ม.ค. 59






โจทย์ :
- ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
- ส่วนประกอบต่าง ๆของพืช เช่นใบ/ ลำต้น/ ผล / เมล็ด
เครื่องมือคิด
Key  Questions
ถ้าไม่มีของเล่น นักเรียนจะนำอะไรมาเล่นได้บ้าง/เล่นอย่างไร?
ของเล่นที่ทำมาจากธรรมชาติมีอะไรบ้าง?
นักเรียนจะเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย? ”
-ของเล่นแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
-นักเรียนมีวิธีการเก็บรักษาดูแลของเล่นอย่างไร?
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเล่นเมล็ดมะค่า
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากเมล็ดพืช/ใบไม้
ระดมความคิดแสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำร่วมกันมาทั้งสัปดาห์
Blackboard Share :
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่า
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเมล็ดมะขามมาเล่นอีตัก
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน กำทาย
Wall  Thinking :
- ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
-  ครูเล่านิทานเรื่อง “เจ้าหมูสีชมพูกับของเล่นชิ้นใหม่
เมล็ดมะค่า
-เมล็ดมะขาม
เมล็ดถั่วแดง
วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
ครูนำเมล็ดมะค่ามาให้นักเรียนสังเกตดูและสัมผัส
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นเมล็ดมะค่า โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดโดยครู
ใช้คำถามกระตุ้นการคิด
 “นักเรียนเห็นอะไร?”
 “มีลักษณะคล้ายเมล็ดพืชชนิดใด?”
 “ สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง/นำมาเล่นได้อย่างไร? และมีวิธีเล่นอย่างไร
 “นักเรียนคิดว่าเมล็ดมะค่าสามารถเกิดอันตรายได้หรือไม่? เกิดอย่างไร?/ นักเรียนมีข้อควรระวังในการเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย”
เชื่อม :
-นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 7  กลุ่ม
-ครูแนะนำและสาธิตขั้นตอนการละเล่นพื้นบ้าน “การเล่นหมากเก็บ”  ดังนี้
-ครูแจกเมล็ดมะค่าคนละ 5 เม็ด มีทั้งหมด 5หมาก คือ
 หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน โยนหินขึ้นแล้วเก็บหมากทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ ถือว่า ตาย” ขณะหยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่าตาย คนอื่นเล่นแทนต่อไปและทำเช่นเดียวกันใน
หมากที่ 2   แต่เก็บทีละ เม็ด
หมากที่ 3   เก็บ เม็ด
หมากที่ 4   ใช้โปะไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น เเล้วรวบทั้งหมดถือไว้ ขึ้นร้านได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่าตาย ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อในตาต่อไป ถ้าใครตายหมากไหน ก็เริ่มต้นที่หมากนั้นใหม่
ใช้:
- นักเรียนเล่น หมากเก็บเมล็ดมะค่า
เชื่อม : 
ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่า โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้ “การเล่นหมากเก็บมีขั้นตอนการเล่นอย่างไร” 
“การเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่ามีประโยชน์อย่างไร?”
 “ถ้าไม่มีเมล็ดมะค่าเราสามารถนำอะไรมาทดแทนเมล็ดมะค่าได้บ้าง?” 
ใช้ :
- นักเรียนทำใบงานแตก Web  “การเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่าแต้”
**การบ้าน //  ให้นักเรียนกลับไปถามผู้ปกครองเกี่ยวกับของเล่นจากเมล็ดพืชมีอะไรบ้าง?  และ เตรียมเม็ดมะขามมาจากบ้านในวันอังคารคนละ10 เม็ด
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการนำเมล็ดมะขามมาเล่น
 โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
 “จะสามารถนำเมล็ดมะขามไปเล่นได้อย่างไรบ้าง? “ เมล็ดมะขามเกิดอันตรายได้หรือไม่ /เกิดอย่างไร? และนักเรียนควรเล่นอย่างไรถึงจะไม่เกิดอันตราย?”
-นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
- ครูให้นักเรียนนับเม็ดมะขามของตนเองพร้อมกัน จำนวน 10 เม็ด
- ครูให้นักเรียนนำเม็ดมะขามวางรวมกันกลางวงภายในกลุ่มแล้วนับ
-ครูแนะนำการละเล่นพื้นบ้าน “อีตัก”และวัสดุที่ใช้เล่นได้แก่เมล็ดมะขาม/ใบไม้เย็บเป็นทรงกรวย
-ครูสาธิตขั้นตอนการเล่น  ดังนี้
  1. นำเมล็ดมะขามทั้งหมดรวมกันแล้วหว่านกลางวง
  2.นักเรียนแต่ละคนใช้กรวยตักเม็ดมะขามให้ได้มากที่สุดทีละคน คนละ1 ครั้งแล้ววนจนรอบวงจนกว่าเม็ดมะขามจะหมด
- นักเรียนนับเมล็ดมะขามของตนเอง ใครได้มากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ
ใช้ :
นักเรียนร่วมกันเล่นการละเล่นพื้นบ้าน“อีตัก”
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน  อีตัก” ซึ่งเป็นการนำเม็ดมะขามมาเล่น ของเด็กในสมัยอดีต โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
 “การละเล่นอีตักมีขั้นตอนการเล่นอย่างไร?”
“การเล่น “อีตัก” มีประโยชน์หรือไม่ /มีอย่างไร?”
“สามารถนำอะไรแทนเม็ดมะขามได้บ้าง?”
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานแตก Web “ การละเล่น อีตัก 
**การบ้าน //ครูให้นักเรียนเตรียมเมล็ดถั่วมาจากบ้านในวันพรุ่งนี้คนละ10 เม็ด
วันพุธ(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำเมล็ดถั่วแดงมาให้นักเรียนดูและสัมผัสโดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
“นักเรียนเห็นอะไร?” นักเรียนคิดว่าถั่วแดงสามารถนำมาเล่นอะไรได้บ้าง?”
“นักเรียนเคยเห็นเมล็ดถั่วอะไรบ้างและเคยเห็นที่ไหน?” “คิดว่าสามารถนำเมล็ดถั่วแดงไปเล่นอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
-นักเรียนนั่งเป็นวงกลม 
-ครูแนะนำ เกมการละเล่น “กำทาย”  และแจกอุปกรณ์การเล่น คือตารางตัวเลข /เมล็ดถั่วคนละ1 เมล็ด
-ครูสาธิตวิธีการเล่นเกม “กำทาย”  ดังนี้
     1. ครูนำเมล็ดถั่วแดง 20 เมล็ดใส่กล่อง
      2.ให้ตัวแทนนักเรียน คน ออกมากำถั่วไว้ในมือแล้วให้เพื่อน ๆ ทายว่ากี่เมล็ด (เวียนคนกำถั่วไปเรื่อยๆ)
      3. นักเรียนที่ทายวางเมล็ดถั่วไว้ในช่องตัวเลขที่ทาย
       (ใครทายถูกได้หนึ่งแต้มบนกระดานบอร์ด)
ใช้:
- นักเรียนร่วมกันเล่น “กำทาย”
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน  กำทาย” โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
การละเล่น กำทาย” มีวิธีการเล่นอย่างไร?และมีประโยชน์อย่างไร?”   “เราสามารถนำเมล็ดอะไรแทนถั่วแดงได้บ้าง?”
  “เมล็ดถั่วแดงมีอันตรายและจะเล่นอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย?”
ใช้ :
- นักเรียนทำใบงาน “ การละเล่นกำทาย 
 **  การบ้าน// -ครูให้นักเรียนเตรียมก้านกล้วยมาในวันพฤหัสบดี คนละ1 ก้าน
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
เชื่อม :
- ครูเชิญผู้ปกครองเป็นวิทยากรมาสอนทำของเล่นพื้นบ้านจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ปืน  ม้าก้านกล้วย การละเล่นเดินกะลา
ใช้ :
นักเรียนทำของเล่นพื้นบ้าน เช่น ปืน  ม้าก้านกล้วย การละเล่นเดินกะลา
วันศุกร์(1ชั่วโมง)
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดแสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำร่วมกันมาทั้งสัปดาห์ โดยใช้ Blackboard Share
ใช้:
นักเรียนเขียน Wep  สรุปกิจกรรมเกมการละเล่นที่ได้เล่นมาทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
-นักเรียนกลับไปถามผู้ปกครองเกี่ยวกับของเล่นจากเมล็ดพืชมีอะไรบ้าง
-ให้นักเรียนเตรียมเม็ดมะขามมาจากบ้านในวันพรุ่งนี้คนละ10 เม็ดนักเรียนทำของเล่นพื้นบ้าน เช่น ปืน  ม้าก้านกล้วย 
-เล่นหมากเก็บมะค่าแต้
เล่นอีตัก
เล่น “กำทาย
ชิ้นงาน
-ใบงาน เขียน Wep  การเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่า
-ใบงานเขียน Wep “การเล่นกำทาย
-ใบงานเขียน Wep “การเล่นอีตัก
-ของเล่นพื้นบ้าน เช่น ปืน  ม้าก้านกล้วย
ความรู้ :
นักเรียนเห็นคุณค่าของธรรมชาติ  และยังสามารถบอกเกี่ยวกับของเล่นที่มาจากธรรมชาติรวมทั้งวิธีการเล่นอย่างปลอดภัยได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
- เลือกเล่นของเล่นได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง
-สามารถเรียนรู้และประยุกต์สิ่งต่างๆรอบตัวเป็นของเล่นได้
-  เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม  เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตและสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งที่พบ
**ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
-เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
 - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ภาพกิจกรรมPBL.







































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เริ่มจากวันจันทร์ ครูได้นำเมล็ดมะค่าแต้ให้นักเรียนได้สังเกต พร้อมกระตุ้นคำถามนักเรียนสามารถนำมาเล่นอะไรได้บ้าง นักเรียนแสดงความคิดเห็น มีเล่นหมากเก็บ หมากหลุ่ม หมากฮ็อด ฯลฯ หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนร่วมกันเล่นหมากเก็บเป็นกลุ่ม แล้วกลับมาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอุปกรณ์/วิธีการทำ/วิธีเล่น/ปัญหาที่พบ/ประโยชน์ที่ได้จาการเล่น จากนั้นกลับไปสอบถามผู้ปกครองที่บ้าน นักเรียนสามารถนำเมล็ดอะไรมาเล่นได้บ้าง หลังจากที่ได้ไปสอบถามผู้ปกครองจากที่บ้าน นักเรียนได้เล่นเกมอีตักและเกมกำทายจากเมล็ดมะขาม โดยใช้ใบไม้ตาตักเมล็ดมะขามตรงกลางใครที่ตักได้เยอะคนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะ ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์/วิธีทำ/วิธีเล่น/ปัญหาที่พบ/และประโยชน์ที่ได้จากการเล่น ครูให้นักเรียนนำสมุดสื่อสารของตนเองเขียนอุปกรณ์ที่จะเตรียมมาทำของเล่น
    ในชั่วโมงต่อมาวันพฤหัสบดี ครูและนักเรียนได้สร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำของเล่น ซึ่งในสัปดาห์นี้ผู้ปกครองอาสาที่มาช่วยแนะนำและดูแลนักเรียน คือ แม่พี่ดิน และแม่มินทร์ เมื่อทุกคนพร้อมครูเชิญนักเรียนแต่ละกลุ่ม เตรียมอุปกรณ์ เช่น ก้านกล้วย กะลา เชือกฟาง ฯลฯ และลงมือทำของเล่นตามกลุ่มของนักเรียน มีกลุ่มม้าก้านกล้วย ปินก้านกล้วยและเดินกะลา เมื่อนักเรียนทำเสร็จครูได้ให้นักเรียนได้ทดลองเล่นของเล่นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกันเล่น นักเรียนทุกคนสนุกสนานในการเล่นของเล่นร่วมกัน เมื่อทำและเล่นเสร็จเรียบร้อยทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นจากกะลาและก้านกล้วย
    ในวันศุกร์นักเรียนแต่ละคนก็จะนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการเล่นที่ตนเองชอบให้เพื่อนฟังซึ่งมีประเด็นที่ต้องนำเสนอดังนี้ เช่น มีอุปกรณ์อะไรบ้าง มิธีการทำอย่างไร มีวิธีเล่นเป็นอย่างไร/ปัญหาที่พบจากการเล่น/ให้ประโยชน์กับเราอย่างไร นักเรียนสามารถนำเสนองานโดยการเล่าถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ