Week4

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”
ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ 2  (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558

เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ทำมาจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืชและสามารถประดิษฐ์ของเล่นได้เอง  เรียนรู้ข้อควรระวังในการเล่นรู้จักสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
Week
Input
Process
Output
Outcome

4

1-5
ก.พ. 59




โจทย์ :
ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
 - ส่วนประกอบต่าง ๆของพืชหรือต้นไม้ เช่นใบ/ ลำต้น/ ผล / เมล็ด
เครื่องมือคิด
Key  Question
ถ้าไม่มีของเล่น จะสามารถนำอะไรมาทำเป็นของเล่นได้บ้าง?
นักเรียนสามารถนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืชไปเล่นอะไรได้บ้าง?และมีวิธีการเล่นอย่างไร?
นักเรียนจะเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย? ”
-การละเล่นแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
-นักเรียนมีวิธีการเก็บรักษาดูแลของเล่นอย่างไรบ้าง?
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติให้มีคุณค่า/เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองได้อย่างไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นจากไม้และวัสดุธรรมชาติ
Brainstorms :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเล่นของเล่นที่ทำจากไม้
 -ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บไม้
-ระดมความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำว่าว
Blackboard Share :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเล่นของเล่นจากไม้
Show and Share :
  - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายใน/ภายนอกห้องเรียน
-ดูคลิปวีดิโอ ของเล่นทำจากไม้
-เพลง กิ่งก้านใบ
-นิทานเรื่องเจ้าหมูสีชมพูกับของเล่นชิ้นใหม่”/ “ว่าวน้อย”

วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
 - นักเรียนดูคลิปวีดิโอ “ของเล่นพื้นบ้านที่ทำจากไม้”  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ของเล่นที่ทำจากไม้ไผ่
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปที่ดู โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
 “ของเล่นที่ทำมาจากไม้มีอะไรบ้าง?” 
“นักเรียนเคยเล่นของเล่นที่ทำจากไม้หรือไม่ เคยเห็นหรือเล่นที่ไหน?”   “ของเล่นแต่ละชนิดมีวิธีเล่นอย่างไร?”
 ชง :
ครูนำไม้ตะเกียบและก้อนหิน มาให้นักเรียนดูและสัมผัส ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร? / เห็นแล้วคิดถึงอะไร? / ไม้ไผ่และก้อนหินมีประโยชน์อย่างไร?”  “นักเรียนคิดว่าไม้ตะเกียบนำไปเล่นอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :  
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บไม้ไผ่
นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม5 กลุ่ม
-ครูสาธิตวิธีการเล่น  ดังนี้ 
 มีทั้งหมด 10  หมาก
 หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน แล้วโยนก้อนหินขึ้นแล้วหยิบไม้ไผ่ครั้งละ 1 อันจนหมด
หมากที่ 2 – 10  โยนมะนาวแล้วหยิบไม้ตามจำนวนหมากที่เล่น จนครบ 10 หมาก
ช้:
นักเรียนเล่น หมากเก็บไม้
เชื่อม :
-ครูและและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บไม้ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
“นักเรียนคิดว่าวิธีการเล่นหมากเก็บไม้กับหมากเก็บเมล็ดมะค่า มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?”
“การเล่นหมากเก็บไม้มีประโยชน์อย่างไร?”
“เมื่อเล่นเสร็จแล้วควรเก็บรักษาดูแลของเล่นอย่างไรให้ได้เล่นนานๆ ?”
** การบ้าน //  ครุให้นักเรียนเตรียมโครงสร้างว่าวมากลุ่มละ 1 ตัว และกระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 3 แผ่นโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดและแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ นำมาในวันอังคาร
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง 
   - ครูเล่านิทานเรื่อง “ว่าวน้อย”
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานที่ฟัง
ชง :
-ครูนำโครงสร้างว่าว มาให้นักเรียนได้สังเกตดู/สัมผัส
-ครูแนะนำอุปกรณ์ที่นำมา เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์ /กาว /เชือก/กรรไกร ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
“นักเรียนเห็นอะไร? ”  “สิ่งที่เห็นสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง? / มีประโยชน์และโทษอย่างไร?”
เชื่อม:
นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม และนำโครงสร้างว่าว/กระดาษหนังสือพิมพ์ ที่กลุ่มตนนำมาจากบ้านมาวางไว้หน้ากลุ่ม
- ครูและนักเรียนระดมความคิดเกี่ยวกับการทำว่าวโดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
“มีวิธีการทำ “ว่าว” อย่างไร? ”   “เราสามารถนำอะไรมาปะว่าวได้บ้างนอกจากกระดาษ?”
-ครูสาธิตวิธีการปะกระดาษว่าว / ตกแต่งว่าวให้สวยงาม ดังนี้
   1.วางโครงว่าวบนกระดาษหนังสือพิมพ์
   2.ใช้กรรไกรตัดห่างจากโครงว่าว 2 ซ.ม.
   3.ใช้กาวทาส่วนที่เผื่อไว้ 2 ซ.ม. แล้วพับติดกัน จากนั้นทำหูว่าว ๆ 2 ห้างและหางยาว ๆ 1หาง
- ครูให้ตัวแทนกลุ่มมารับอุปกรณ์ เช่น กรรไกร /กาว   /กระดาษสีสำหรับตกแต่งให้สวยงาม
ใช้ :
- นักเรียนทำว่าวเป็นกลุ่ม
วันพุธ ( ชั่วโม)
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบในการปะโครงสร้างว่าว โดยครูใช้คำถามกระตุ้น  “นักเรียนพบปัญหาอะไรในการทำงานกลุ่มในการปะกระดาษว่าวหรือไม่/และ
มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?”
ใช้
นักเรียนผูกเชือกว่าว
นักเรียนทดลองเล่นว่าวเป็นกลุ่ม
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำว่าว และผลการทดลองเล่นว่าว ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
 “นักเรียนเจอปัญหาอะไรในการทำและเล่นว่าวในครั้งนี้ ?”  “นักเรียนคิดว่าทำไมว่าวถึงร่อนบนอากาศได้? / และทำไมว่าวบางกลุ่มถึงไม่ลอยขึ้น เพราะเหตุใด”  “มีวิธีการวิ่งหรือเคล็ดลับใดที่ทำให้ว่าวสามารถลอยตัวบนอากาศได้นาน ๆ ”
ใช้ :
 -นักเรียนทำใบงานเขียน Web การทดลองทำ/เล่นว่าว
 ** การบ้าน //   ครูให้นักเรียนเตรียมใบมะพร้าวมาจากบ้านคนละ5ใบในวันพฤหัสบดี
 วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
เชื่อม  :
- ครูแนะนำวิทยากร (คุณแม่พี่หนุน / คุณแม่พี่หนูยิ้ม / คุณแม่พี่แก้ม /  คุณยาพี่การ์ฟิวส์)
-วิทยากรแนะนำของเล่นและเล่าประสบการณ์ในสมัยตอนเป็นเด็ก
ให้นักเรียนฟัง
-วิทยากรแนะนำอุปกรณ์ เช่น ใบมะพร้าว / กรรไกร และสาธิตขั้นตอนการสานใบมะพร้าวเป็นนก /ตระกร้อ / กุ้ง ให้นักเรียนดู

ใช้  :
-นักเรียนสานใบมะพร้าว
 เชื่อม  :
- นักเรียนและครู สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการสานใบมะพร้าว  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“มีขั้นตอนการทำรถอย่างไร?”  
“ใบมะพร้าวนำไปสานอะไรได้บ้าง?”
 “นอกจากนำไปสานเป็นของเล่นแล้วใบมะพร้าวมีประโยชน์อะไรบ้าง?” 
ใช้  
 -นักเรียนทำใบงานแตก Web   การสานใบมะพร้าวเป็นของเล่น
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
กิจกรรมเดินทางไกล
ชง  : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมเดินทางไกล
-ครูและนักเรียนสร้างข้อตกลงในการเดินทางไกลร่วมกัน 
เชื่อม :
-ครูจัดกลุ่มนักเรียน/ผู้ปกครองและครูเดินทางไกลเป็น 3 กลุ่ม
ใช้ :
-นักเรียนเดินทางไกล
-นักเรียนเขียนบันทึกความทรงจำในการเดินทางไกลลงสมุดบันทึกวัยเยาว์
ภาระงาน
นักเรียนเล่นหมากเก็บไม้ไผ่
-นักเรียนเตรียมโครงสร้างว่าวมากลุ่มละ 1 ตัว และกระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 3 แผ่น
- ครูให้นักเรียนทุกคนเตรียมใบมะพร้าวมาคนละ 5 ใบ
- ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งสัปดาห์
 -กิจกรรมเดินทางไกล

ชิ้นงาน
- นักเรียนทำว่าวเป็นกลุ่ม
- ว่าว
-สานใบมะพร้าว
  -นักเรียนทำใบงานเขียนWeb การทดลองทำ/เล่นว่าว
- ทำใบงานแตก Web   การสานใบมะพร้าวเป็นของเล่น
ความรู้ :
- สามารถอธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ทำมาจากไม้และสามารถประดิษฐ์ของเล่นเล่นได้เอง
เรียนรู้วิธีการสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-สามารถเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง
-สามารถคิดวางแผนการทำของเล่นที่ทำมาจากวัสดุที่อยู่รอบตัวได้
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

** ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ / สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียของ ของเล่นในสมัยอดีตและปัจจุบัน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์  ประดิษฐ์ของเล่นจากแก้วน้ำเป็นโทรศัพท์
** ทักษะการสื่อสาร
-อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

** ทักษะการสังเกต
 - การสังเกต
  - การลงความเห็นจากข้อมูล
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม /เรียนรู้การรอคอย /การแบ่งปันของเล่น
คุณลักษณะ :
-เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน





































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น